วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครื่องเล่นแผ่นดิสก์และการใช้งาน

"คอมแพ็คดิสค์ (CD=Compact Disc)" เรียกตามศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2533 ว่า "จานบันทึกอัดแน่น. จานคอมแพ็คต์ (ซีดี) " หรือที่เรียกกันทั่วไปสั้น ๆ ว่า "CD" CD เป็นผลของเทคโนโลยีที่ร่วมมือกนระหว่างบริษัท Sony และบริษัท Philips เพื่อผลิต CD ในลักษณะของแผ่นเพลง CD (Compact Disc-Digital Audio : CD-DA) ขึ้นมาเพื่อใช้แทนแผ่นเสียงขนาด 12 นิ้วที่ใช้กันอยู่ขณะนั้นโดยมีการประกวดใช้มาตรฐานแผ่น CD ในปี ค.ศ. 1980 และผลิตแผ่นเพลง CD ออกมาเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1982 ลักษณะเฉพาะของแผ่น CD ที่ผลิตนี้จะมีการบันทึกข้อมูลในระบบดิจิทัลซึ่งเป็นตัวเลข 0 และ 1 และใช้แสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล(ในขณะที่แผ่นเสียงจะบันทึกเสียงในระบบอนาล็อกและการใช้เข็มในการเล่น) นอกจากนี้ลักษณะเฉพาะจะเกี่ยวข้องถึงขนาดของ "หลุม" (pits) และพื้น (land คือพื้นที่ราบระหว่างหลุม) ของการบันทึกข้อมูลที่มีการจัดเรียงเป็นวงก้นห้อยรวมถึงลักษณะอื่นๆ ด้วยการประการมาตรฐานของ CD ที่รู้จักในนามของ "Red Book" โดยเรียกจากสีแดงที่พิมพ์บนแผ่นปกกล่อง CD เพื่อเป็นหลักประกันว่าแผ่นเพลง CD ที่จะผลิตต่อจากนี้ไปจะเป็นมาตรฐานสากลเดียวกันทั้งหมดโดยสามารถเล่นในเครื่องเล่นเพลง CD ใดๆ ก็ได้ มารตราฐานนี้ทำได้ง่ายเนื่องจากแผ่นเพลง CD บันทึกเฉพาะเสียงเท่านั้น

6.12.1 ลักษณะของแผ่น CD แผ่น CD มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกแบบกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว (12 เซนติเมตร = 120 มิลลิเมตร) หนา 1.2 มิลลิเมตร และมีรูตรงกลางเรียกว่า "hub" ขนาด 15 มิลลิเมตร น้ำหนัก 14 กรัม แผ่น CD เป็นแผ่นที่ทำมาเพื่อใช้ได้ตลอดไป จึงต้องทำด้วยวัสดุที่ทนทานและคุณภาพสูง ลักษณะแผ่นจะประกอบด้วยชั้นวัสดุหลายชั้นประกบกัน ชั้นล่างเป็นชั้นหนาสุดทำด้วยพลาสติก ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันที่ใช้ทำกระจกกันกระสุน ชั้นที่ 2 เป็นของการบันทึกซึ่งมีลักษณะเป็นหลุมเล็กๆ เรียกว่า "pits" หลุมเหล่านี้มีขนาดเล็กมากและมีความลึกประมาณ 1/1000 ของชั้นพลาสติกเท่านั้น ชั้นที่ 3 ซึ่งอยู่เหนือชั้นของ pits จะเป็นชั้นบางๆ ของโลหะเคลือบอยู่เรียกว่า Evaporated Reflective Metal Layer โลหะนี้จะทำให้แผ่น CD มีสีเงินสะท้อนแวววาว ส่วนมากโลหะที่ใช้จะเป็น อลูมิเนียม หรืออาจจะใช้ทองจริง ๆเคลือบ ชั้นที่ 4 เป็นชั้นปิดผนึกทำด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันรอยขูดขีดต่างๆ เรียกว่า Plastic Protective Coating ชั้นบนสุดเป็นชื่อแผ่นหรือข้อคามกำกับแผ่นโดยการทำซิลค์สกรีนลงบนชั้นปิดผนึกนั้น



แผนภาพที่ 15 แสดงลักษณะแผ่น CD ชั้นต่างๆ หลุม และพื้นบนแผ่น CD นับนานหลายทศวรรษที่
มนุษยชาติได้พยายามที่จะบันทึกเสียงพูด เสียงละคร และเสียงคีตการอื่นๆ เอาไว้เพื่อเปิดฟังภายหลัง เรารู้จักเครื่องบันทึกเสียง อุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกกันว่าแกรมโมโฟน (Grammophone) จนพัฒนาเป็นจานบันทึกเสียงที่เรียกกันว่า โฟโนกราฟ (Phonograph) จนกระทั่งมาถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่เรียกทับศัพท์กันทั่วไปว่า เทิร์นเทเบิ้ล (Turntable) นับเนื่องจากการคิดค้นการบันทึกเสียงลงแผ่นจานเสียงของ โทมัส อัลวา เอดิสัน นักคิดชาวอเมริกัน จนกระทั่งพัฒนามาเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียงซึ่งใช้หลักการ อีเล็กโตรแมคานิคส์ โดยการใช้หัวเข็มหรือตัวสไตลัส ส่งผ่านสัญญาณออกไปด้วยระบบสั่นสะเทือนตามร่องเสียงที่ได้บันทึกไว้ คอมแพ็คดิสก์ คือ เครื่องเล่นที่เข้ามาทดแทนเครื่องเล่นแผ่นเสียง ซึ่งมีข้อบกพร่องหลายด้านแต่คอมแพ็คดิสก์สามารถที่จะเล่นในระบบ ลองเพลย์ ได้เช่นเดียวกับเครื่องเล่นแผ่นเสียงด้วยระบบการบันทึกสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้ความผิดเพี้ยนที่น้อยทีทสุดและสามารถเก็บรักษาแผ่นได้นานกว่าทั้งยังปราศจากการการขีดข่วนแผ่น เนื่องเพราะเราใช้แสงเลเซอร์ยิงไปยังแผ่นเพื่อสะท้อนกลับข้อมูลในระบบดิจิตอลอกมา จึ่งถือว่าแผ่นไม่สึกหรอเพราะการใช้งาน ไม่สามารถทำให้ร่องเสียงกว้างมากกว่าเดิมได้ และไม่อาจจะทำให้คุณภาพเสียง ลดด้อยลงด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: