วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง 6

ลำโพงเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ลำโพงมีหลายแบบซึ่งมีหลักการและโครงสร้างแตกต่างกัน ลำโพงที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ แบบไดนามิค (Dynamic Speaker)

6.11.1 ชนิดของลำโพง ลำโพงในปัจจุบัน แบ่งกว้างๆ ได้ดังนี้
1) ลำโพงฮอร์น (Horn) ลำโพงประเภทนี้ใช้พวำฟเบอร์หรือพวกโลหะเป็นแผ่นสะเทือน (Voice Coil) จึงทำให้เกิดเสียงดังมากและลำโพงปากแตร ลำโพงประเภทนี้มีความทนทานต่อการใช้งานหนักได้เป็นอย่างดี ทนแดดทนฝน (แต่ต้องระวังไม่ให้ส่วนที่เป็นลำโพงตกกระแทกแรงๆ จะทำให้แม่เหล็กภายในลำโพงบิดงอ ซึ่งจะทำให้ลำโพงขาดบ่อย จึงเหมาะกับการใช้งานกลางแจ้งหรืองานกระจายเสียงสาธารณะที่ต้องการความดังไกล
2) ลำโพงกรวยกระดาษ (Paper Cone Speaker) ลำโพงประเภทนี้มีใช้ตามเครื่องรับวิทยุทั่วๆ ไป หรือนำมาใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อตั้งกับพื้นหรือตั้งโต๊ะ หรือติดตามฝา ลำโพงแบบนี้ทำไว้สำหรับรับคลื่นความถี่แต่ละช่วงเช่น Woofer (วูฟเฟอร์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ต่ำได้ดี จึงเรียกว่าลำโพงเสียงทุ้ม Mid range (มิดเรนจ์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ในช่วงกลางๆ จึงเรียกว่าเสียงกลาง Tweeter (ทวีตเตอร์) ตอบสนองคลื่นคามถี่สูงได้ดี ลำโพงแบบนี้ส่วนมากมีขนาดเล็กเราเรียกว่าลำโพงเสียงแหลม

6.11.2 การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถในการรับความดังของลำโพงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt (W)) ความสามารถในการรับ ความดังของลำโพง หมายความว่า ที่ลำโพงจะมีตัวเลขบอกไว้ว่า 40W หรือ 60 W หรือ 100W การต่อลำโพงจะต้องคำนึงถึงตัวเลขเหล่านี้คือ ถ้าเครื่องขยายเสียงของเรามีความดัง 100W เราต้องใช้ลำโพงซึ่งรวมกันแล้วได้ 100 W หรือมากกว่านี้ จะใช้น้อยกว่าไม่ได้ จะทำให้ลำโพงขาดได้ในกรณีนี้ต้องใช้ลำโพง 40W ถึง 3 ตัวหรือใช้ลำโพง 6W อย่างน้อย 2 ตัว
2) ความต้านทานของลำโพง ความต้านทานของลำโพง หมายความว่า ความต้านทานในการไหล ของกระแสไฟฟ้า (ซึ่ง Watt ของเครื่องขยายเสียงคงที่) ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าคามต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง ที่เครื่องขยายจะมีจุดความต้านทานให้เลือกต่อ เราจะต้องต่อให้ความต้านทานของเครื่องขยายเสียงเท่ากับความต้านทานของลำโพงหรือมากกว่า การคำนวณความต้านทานของลำโพงคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้วิธีต่อลำโพง การต่อลำโพงเพื่อใช้งานทำได้ 3 วิธีคือ
1) การต่อแบบขนาน คำนวณได้จากสูตรR = 1/R1 + 1/R2 +1/R3 - - - - - - - - - - - + 1/Rnเช่น ลำโพง 16 ohm 4 ตัว ถ้าต่อแบบขนาน จะต้องต่อที่เครื่องเสียงกี่โอห์ม?1/R = 1/16 + 1/16 + 1/16 + 1/16 - - - - - - - - - = 4/16 R = 16/4 = 4 ต้องต่อที่ขยาย 0 โอห์ม และ 4 โอห์ม

หมายเหตุ การต่อลำโพงแบบขนาจนี้ถ้าตัวใดตัวหนึ่งขาดตัวอื่นก็ยังคงดังอยู่

2) ต่อแบบอนุกรม คำนวณได้จากสูตรR = 8 + 8 = 16 โอมห์ ต้องต่อเครื่องขยายที่จุด 0 โอมห์ และ 16 โอมห์

หมายเหตุ การต่อแบบอนุกรม ถ้าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งไม่ดังหรือขาด ลำโพงตัวอื่นก็ไม่ดังด้วย 3) การต่อแบบผสม คำนวณโดยใช้สูตรแบบขนานและแบบอนุกรม ถ้าส่วนใดต่อแบบขนาน ก็ใช้สูตรแบบขนานส่วนใดต่อ แบบอนุกรมก็ใช้สูตรการต่อแบบอนุกรม เช่น ลำโพง 8 โอมห์ 4 ตัว ควรต่อแบบใดจึงจะได้ค่าความต้านทานของลำโพงและเครื่องขยายตรงกันหรือใกล้เคียงกันที่สุด อธิบาย ถ้าต่อแบบขนานทั้งหมดทั้งหมดจะได้ 1/R = 1/8 +1/8 + 1/8 +1/8 =4/8 =2 โอมห์ (ต่อที่ 0 กับ 4 โอห์มได้) ถ้าต่อแบบอนุกรมจะได้ R = 8+8+8+8=32 โอมห์ ซึ่งอาจจะไม่มีที่ต่อควรแบ่งลำโพงนี้ออกเป็น 2 ชุด ๆ ละ 2 ตัว โดยให้แต่ละ ตัวต่ออนุกรมกันแล้วนำมาต่อแบบขนาน นำเอาชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มาต่อขนานกันจะได้ 1/R = 1/16+1/16=8 โอมห์หมายเหตุ ที่ต่อลำโพงของเครื่องขยายจะมีค่าความต้านทานดังนี้เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น: