วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

สาระสำคัญ

1. เครื่องขยายเสียงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดเสียงดังเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินชัดเจน ไพเราะ ระรื่นหู มี 2 ระบบคือ ระบบโมโน และระบบสเตอริโอ
2. การขยายเสียงนั้นมี องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ แหล่งต้นเสียง (Input Signal) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) และลำโพง (Loud Speaker)
3. ไมโครโฟนเป็นแหล่งต้นเสียงชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้ามีหลายชนิด
4. เครื่องบันทึกเสียงเป็นแหล่งต้นเสียงที่สามารถบันทึกเสียงพูด เสียงบรรยายได้ นอกเหนือจากแถบเสียงที่บันทึกแล้วมี 2 ชนิด คือ เทปใบ้ (Tape Deck) กับ เทปเสียง (Tape Recorder)
5. ลำโพงเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ให้เป็นคลื่นเสียงมี 2 ชนิด คือ ลำโพงกรวยกระดาษ (paper cone speaker) และลำโพงกรวยโลหะ (horn speaker)
6. เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ (compact disc) เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ เปลี่ยนคลื่นแสงสว่างให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า back

จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

1. ความหมายและประเภทของเครื่องขยายเสียง
2. ระบบของการขยายเสียง
3. ไมโครโฟนและการใช้ไมโครโฟน
4. เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง
5. ลำโพงและการต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง
6. เครื่องเล่นแผ่นดิสก์และการใช้งาน

ความหมายและประเภทของเครื่องขยายเสียง

เครื่องขยายเสียงเป็นเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กโทรนิคส์ที่ก้าวหน้าและมีความจำเป็นต่อชีวิตของคนเรามาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ และระบบเสียงของโทรทัศน์ และ C.V.D โดยต้องการให้เสียงนั้นมีความชัดเจนไม่มีเสียงรบกวนสอดแทรก มีเสียงเหมือนจริงตามธรรมชาติ และมีความไพเราะรื่นหู ปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของเสียงให้อยู่ในขั้นดีเสียงดัง ฟังชัด และมีความเที่ยงตรง เหมือนความเป็นจริงมากที่สุด เรียกว่าระบบ Hi-Fi6.2 ระบบเสียง

6.2.1 ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึงการขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย

6.2.2 ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา

ระบบของการขยายเสียง

การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
6.3.1 แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ

6.3.2 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง

6.3.3 ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได

การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

Pre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ

Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble)

Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน

ไมโครโฟนและการใช้ไมโครโฟน

ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่ง ชนิดของไมโครโฟน

6.4.1 แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ
6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง

6.4.2 แบ่งตามทิศทางของการรับเสียง
1) แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียวคือด้าน หน้า มีมุมรับเสียงค่อนข้างแคบ เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับการบรรยาย การบันทึกเสียง วงดนตรี หรือที่ที่ผู้พูดอยู่ด้านหน้าไมโครโฟน
2) แบบรับเสียงได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional mic) รับเสียงได้ 2 ทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน
3) แบบรับเสียงได้รอบทิศทาง (Omni-directional mic) รับเสียงได้รอบทิศทาง โดยมี ความไวในการับเสียงเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับใช้ในการแสดงบนเวที แต่มีข้อเสียคือ เสียงจะเข้ารอบทิศทาง ป้องกันสัญญาณย้อนกลับ (Feed back) ได้ยาก
4) แบบรับเสียงบริเวณด้านหน้ารูปหัวใจ (Cardioid mic) รับเสียงได้ทิศทางเดียว แต่สามารถรับเสียงได้เป็นมุมกว้าง คล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

6.4.3 แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
1) แบบตั้งโต๊ะ (Desk mic) ใช้เสียบบนขาตั้ง วางบนโต๊ะ หรือตั้งพื้นตรงหน้าผู้พูดโดยที ผู้พูดไม่ต้องเคลื่อนไปมา
2) แบบมือถือ (Hand mic) ใช้สำหรับนักร้อง นักโฆษณา
3) แบบห้อยคอ (Lavalier mic) มีขนาดเล็ก ใช้เสียงติดกับคอเสื้อ-กระเป๋าเสื้อ หรือเนค ไท นิยมใช้ในการทำรายการโทรทัศน์
4) แบบบูม (Boom mic) ติดอยู่บนแขนยาว ๆ อยู่เหนือศีรษะผู้พูดสามารถเสื่อนตามผู้ พูด หรือผู้แสดงไปได้ตลอด นิยมใช้ในห้องผลิตรายการโทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียงการแสดง
5) แบบบิง (Bing mic) ใช้ตั้งโต๊ะอยู่กับที่โดยไม่เคลื่อนย้าย
6) แบบไม่มีสาย (Wireless mic) เป็นเครื่องส่งวิทยุระบบ F.M ขนาดเล็กกำลังส่งต่ำ ใช้กับเครื่องรับวิทยุระบบ F.M ส่งคลื่นไปได้ไกล ประมาณ 50-200 เมตรเท่านั้น

เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง

เครื่องบันทึกเสียง ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหลายๆ วงการ เช่นนักข่าวใช้บันทึกเสียงการสัมภาษณ์ การสอบสวนใช้บันทึกเสียงผู้ให้ปากคำ ในวงการศึกษาได้นำเครื่องบันทึกเสียงมาใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นกัน โดยเฉพาะกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น บันทึกรายการที่น่าสนใจจากวิทยุ และโทรทัศน์ การฝึกปฏิบัติการทางภาษาทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ การเรียนดนตรี หรือม้กระทั่งการเรียนทางไกล ซึ่งใช้วิทยุและโทรทัศน์เป็นสื่อ ก็สามารถใช้เครื่องบันทึกเสียงรายการบทเรียนไว้ฟังได้หลาย ๆ ครั้ง หรือในเวลาที่ต้องการ และเมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถลบทิ้งแล้วบันทึกใหม่ได้อีก นับว่าให้ความสะดวกแกผู้ใช้มากกับทั้งราคาไม่แพงด้วย จึงเป็นที่นิยมใช้กันมาก

6.7.1 หลักการบันทึกเสียงและฟังเสียง จากทฤษฎีทางไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆ ขดลวด ถ้าพันขวดลวดหลาย ๆ รอบบนแกนเหล็ก จะทำให้มีอำนาจเป็นสนามแม่เหล็กได้มากขึ้นในทางตรงกันข้าม เมื่อสนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านขดลวดจะเหนียวทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับความแรงของสนามแม่เหล็ก ความเร็วในการเคลื่อนที่ ขนาดและความยาวของลวด หัวบันทึกของเครื่องบันทึกเสียงทำด้วยแท่งแกนเหล็กอ่อนรูปวงแหวนมีขดลวดพันอยู่โดยรอบ ส่วนปลายของวงแหวนด้านหน้าเป็นช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ปล่อยเส้นแรงแม่เหล็กออกมาการบันทึกเสียงจะเริ่มจากคลื่นเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจะผ่านไมโครโฟน ไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าตามลักษณะของคลื่นเสียง แล้วผ่านเครื่องขยายเพื่อขยายสัญญาณให้แรงขึ้น สัญญาณไฟฟ้าที่ถูกขยายแล้วนี้จะผ่านเข้าหัวบันทึกทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กจะผ่านออกมาทางปลายวงแหวน ซึ่งเป็นช่องว่าง เมื่อนำเทปมาผ่านช่องว่างนี้ เส้นแรงแม่เหล็กจะทำให้ผงเหล็กออกไซต์ (Iron Oxide) มีอำนาจแม่เหล็กมากน้อยเหมือนกับตัวบันทึกนั่นก็คือการบันทึกเสียงนั่นเอง สารแม่เหล็ก เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก จะแสดงอำนาจแม่เหล็กและยังคงแสดงอำนาจแม่เหล็กอยู่ได้ แม้จะออกจากสนามแม่เหล็กแล้ว ดังนั้นทางตรงกันข้าม เมื่อนำแผ่นเทปที่บันทึกเสียงแล้วนี้ไปผ่านหัวฟัง (ซึ่งทำด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อนเหมือนหัวบันทึก) ด้วยความเร็วเท่ากับตอนบันทึก อำนาจของแม่เหล็กบนแผ่นเทปจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ขดลวดให้หัวฟังสํญญาณไฟฟ้าจะออกจากขดลวดผ่านเข้าไปในเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายให้สัญญาณไฟฟ้านี้แรงขึ้น แล้วส่งออกสำโพง ลำโพงจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณ เสียงอีกทีหนึ่ง นี่ก็คือการฟังเสียงนั่นเอง

หัวบันทึกและหัวฟังในเครื่องบันทึกเสียงทั่วๆ ไป จะเห็นหัวเดียวกัน แต่ทำงานตรงข้ามกัน หัวบันทึกจะทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าจากไมโครโฟน และส่งผ่านอำนาจแม่เหล็กมายังแผ่นเทป ส่วนหัวฟังจะรับอำนาจแม่เหล็กจากแผ่นเทปและส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังลำโพง เครื่องบันทึกเสียงโดยทั่วไป หัวลบจะเป็นแท่งแม่เหล็ก เมื่อแผ่นเทปผ่านหัวนี้ อำนาจแม่เหล็กของหัวลบอำนาจแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่นเทปออก สัญญาณที่บันทึกไว้เดิมจึงหายไป เทปที่ถูกลบแล้วนี้จะผ่านหัวบันทึก เพื่อบันทึกใหม่ ในเครื่องบันทึกเสียงที่มีคุณภาพสูง จะลบเทปโดยใช้สัญญาณความถี่สูง ๆ ที่หูคนฟังไม่ได้ยินมาบันทึก (ลบ) การลบแบบนี้ให้ผลดีมากเพราะจะไม่มีเสียงรบกวนเลย

เครื่องบันทึกเสียง และการใช้เครื่องบันทึกเสียง 6

ลำโพงเป็นเครื่องมือสำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียง ลำโพงมีหลายแบบซึ่งมีหลักการและโครงสร้างแตกต่างกัน ลำโพงที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้คือ แบบไดนามิค (Dynamic Speaker)

6.11.1 ชนิดของลำโพง ลำโพงในปัจจุบัน แบ่งกว้างๆ ได้ดังนี้
1) ลำโพงฮอร์น (Horn) ลำโพงประเภทนี้ใช้พวำฟเบอร์หรือพวกโลหะเป็นแผ่นสะเทือน (Voice Coil) จึงทำให้เกิดเสียงดังมากและลำโพงปากแตร ลำโพงประเภทนี้มีความทนทานต่อการใช้งานหนักได้เป็นอย่างดี ทนแดดทนฝน (แต่ต้องระวังไม่ให้ส่วนที่เป็นลำโพงตกกระแทกแรงๆ จะทำให้แม่เหล็กภายในลำโพงบิดงอ ซึ่งจะทำให้ลำโพงขาดบ่อย จึงเหมาะกับการใช้งานกลางแจ้งหรืองานกระจายเสียงสาธารณะที่ต้องการความดังไกล
2) ลำโพงกรวยกระดาษ (Paper Cone Speaker) ลำโพงประเภทนี้มีใช้ตามเครื่องรับวิทยุทั่วๆ ไป หรือนำมาใส่ไว้ในตู้เย็นเพื่อตั้งกับพื้นหรือตั้งโต๊ะ หรือติดตามฝา ลำโพงแบบนี้ทำไว้สำหรับรับคลื่นความถี่แต่ละช่วงเช่น Woofer (วูฟเฟอร์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ต่ำได้ดี จึงเรียกว่าลำโพงเสียงทุ้ม Mid range (มิดเรนจ์) สามารถตอบสนองคลื่นความถี่ในช่วงกลางๆ จึงเรียกว่าเสียงกลาง Tweeter (ทวีตเตอร์) ตอบสนองคลื่นคามถี่สูงได้ดี ลำโพงแบบนี้ส่วนมากมีขนาดเล็กเราเรียกว่าลำโพงเสียงแหลม

6.11.2 การต่อลำโพงกับเครื่องขยายเสียง การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถในการรับความดังของลำโพงมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt (W)) ความสามารถในการรับ ความดังของลำโพง หมายความว่า ที่ลำโพงจะมีตัวเลขบอกไว้ว่า 40W หรือ 60 W หรือ 100W การต่อลำโพงจะต้องคำนึงถึงตัวเลขเหล่านี้คือ ถ้าเครื่องขยายเสียงของเรามีความดัง 100W เราต้องใช้ลำโพงซึ่งรวมกันแล้วได้ 100 W หรือมากกว่านี้ จะใช้น้อยกว่าไม่ได้ จะทำให้ลำโพงขาดได้ในกรณีนี้ต้องใช้ลำโพง 40W ถึง 3 ตัวหรือใช้ลำโพง 6W อย่างน้อย 2 ตัว
2) ความต้านทานของลำโพง ความต้านทานของลำโพง หมายความว่า ความต้านทานในการไหล ของกระแสไฟฟ้า (ซึ่ง Watt ของเครื่องขยายเสียงคงที่) ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าจะไหลได้มากขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าคามต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะไหลได้น้อยลง ที่เครื่องขยายจะมีจุดความต้านทานให้เลือกต่อ เราจะต้องต่อให้ความต้านทานของเครื่องขยายเสียงเท่ากับความต้านทานของลำโพงหรือมากกว่า การคำนวณความต้านทานของลำโพงคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้วิธีต่อลำโพง การต่อลำโพงเพื่อใช้งานทำได้ 3 วิธีคือ
1) การต่อแบบขนาน คำนวณได้จากสูตรR = 1/R1 + 1/R2 +1/R3 - - - - - - - - - - - + 1/Rnเช่น ลำโพง 16 ohm 4 ตัว ถ้าต่อแบบขนาน จะต้องต่อที่เครื่องเสียงกี่โอห์ม?1/R = 1/16 + 1/16 + 1/16 + 1/16 - - - - - - - - - = 4/16 R = 16/4 = 4 ต้องต่อที่ขยาย 0 โอห์ม และ 4 โอห์ม

หมายเหตุ การต่อลำโพงแบบขนาจนี้ถ้าตัวใดตัวหนึ่งขาดตัวอื่นก็ยังคงดังอยู่

2) ต่อแบบอนุกรม คำนวณได้จากสูตรR = 8 + 8 = 16 โอมห์ ต้องต่อเครื่องขยายที่จุด 0 โอมห์ และ 16 โอมห์

หมายเหตุ การต่อแบบอนุกรม ถ้าลำโพงตัวใดตัวหนึ่งไม่ดังหรือขาด ลำโพงตัวอื่นก็ไม่ดังด้วย 3) การต่อแบบผสม คำนวณโดยใช้สูตรแบบขนานและแบบอนุกรม ถ้าส่วนใดต่อแบบขนาน ก็ใช้สูตรแบบขนานส่วนใดต่อ แบบอนุกรมก็ใช้สูตรการต่อแบบอนุกรม เช่น ลำโพง 8 โอมห์ 4 ตัว ควรต่อแบบใดจึงจะได้ค่าความต้านทานของลำโพงและเครื่องขยายตรงกันหรือใกล้เคียงกันที่สุด อธิบาย ถ้าต่อแบบขนานทั้งหมดทั้งหมดจะได้ 1/R = 1/8 +1/8 + 1/8 +1/8 =4/8 =2 โอมห์ (ต่อที่ 0 กับ 4 โอห์มได้) ถ้าต่อแบบอนุกรมจะได้ R = 8+8+8+8=32 โอมห์ ซึ่งอาจจะไม่มีที่ต่อควรแบ่งลำโพงนี้ออกเป็น 2 ชุด ๆ ละ 2 ตัว โดยให้แต่ละ ตัวต่ออนุกรมกันแล้วนำมาต่อแบบขนาน นำเอาชุดที่ 1 และชุดที่ 2 มาต่อขนานกันจะได้ 1/R = 1/16+1/16=8 โอมห์หมายเหตุ ที่ต่อลำโพงของเครื่องขยายจะมีค่าความต้านทานดังนี้เสมอ